แพะพื้นเมือง

ความสำคัญของ แพะพื้นเมือง ไทย
แพะเป็นสัตว์ที่กระเพาะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับเลี้ยงในชนบทของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่นประเทศไทย เพราะแพะเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว อายุการเป็นหนุ่มสาว และระยะตั้งท้องสั้น (150 วัน) สามารถให้ลูกครั้งละ 1-4 ตัวและให้ลูกได้ปีละ 2 ครอก ใช้พื้นที่เลี้ยงต่อตัวน้อย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะทนความร้อนจากแสงแดดได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น และที่สำคัญคือแพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารพวกพืชหลายชนิด วัสดุเหลือใช้จากเกษตรซึ่งเหลือเฟือในบ้านเรา จึงนำมาเลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยเหตุดังกล่าวแล้ว สถานภาพของบ้านเราจึงเหมาะที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้น้อยในชนบทเลี้ยงแพเพื่อเพิ่มรายได้ และสามารถรีดนมแพะบริโภค จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารโปรตีนในเด็กระยะกำลังเจริญเติบโต เป็นต้น
พันธุ์แพะพื้นเมืองไทย
แพะพื้นเมืองในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ด้วยกัน แพะทางแถบตะวันตก เช่น ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแพะท่าจากประเทศอินเดีย หรือปากีสถานมีรูปร่างใหญ่กว่าแพะทางใต้ นอกจากนี้แพะที่เลี้ยงกันแถบตะวันตก เช่น จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดนครสวรรค์ เข้าใจว่าเป็นแพะที่มาจากประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ เข้าสู่ประเทศไทยผ่านทางประเทศเมียนมาร์ มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าแพะทางใต้ แพะกลุ่มนี้มีใบหูปรกยาวมาก ขายาว ผอมเก้งก้าง และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “แพะพม่า” หรือ “แพะหูยาว”
ตามหลักฐานที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติการเลี้ยงแพะในประเทศไทย หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ รายงานปี พ.ศ. 2491 ว่าแพะที่เลี้ยงในประเทศไทยในขณะนั้นเข้าใจว่าเป็นแพะเลือดอินเดีย บางคนเรียกว่า แพะบังกะลา ซึ่งอาจหมายความว่าเป็นแพะที่มาจากเมืองบังกะลาหรือเบงกอล แพะที่เลี้ยงมีเขา หน้าโค้ง หูตก และหูยาวทั้งนั้น ยังไม่พบพันธุ์ที่ไม่มีเขา หูตั้งและหน้าตรง ส่วนแพะทางใต้ของประเทศไทย มีขนาดเล็กเข้าใจกันว่ามีสายพันธุ์เดียวกับแพะพื้นเมืองของมาเลเซีย คือพันธุ์แกมบิงกัตจัง (Kambing Katjang หรือ Katjang หรือ Kacang)
การจำแนกทางสัตววิทยา
แพะ เป็นชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ Capra aegagrus hircus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดกลาง มีความอดทนแข็งแรงและทนทานต่อโรคได้ดีกว่าสัตว์กีบคู่ชนิดอื่นๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือภูเขาได้ดี ขนหยาบสีดำ ขาว หรือน้ำตาล มีเขา 1 คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น

ลักษณะของแพะพันธุ์พื้นเมือง
แพะพันธุ์พื้นเมืองในภาคใต้ของประเทศไทยประมาณมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ มีสีดำ น้ำตาลหรือน้ำตาลสลับดำ ที่เหลืออาจจะมีสีขาวหรือเหลือง มีเขา และที่พบมีติ่งใต้คอประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ เพศเมียเมื่อโตเต็มวัยมีกิโลกรัม และภายใต้สภาพการเลี้ยงดูในชนบทแพะเพศเมียที่มีอายุ 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 12.8 กิโลกรัม แพะพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทยมีลักษณะคล้ายกับแพะพันธุ์กัตจังหรือแกมบิง กัตจัง (Katjang หรือ Kacang หรือ Kambing Katjang) ของประเทศมาเลเซีย แพะพื้นเมืองทางใต้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 20-25 กิโลกรัม ให้ผลผลิตทั้งเนื้อและนมต่ำ
อัตราการเจริญเติบโต แพะพันธุ์พื้นเมืองมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันต่ำมาก และมีน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อถึงระยะเจริญพันธ์ต่ำมาก สาเหตุเนื่องจากมีการผสมเลือดชิด เกษตรกรไม่ได้คัดเลือกแพะที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีไว้ทำพันธุ์ ไม่ค่อยมีการถ่ายพยาธิแพะ ให้อาหารที่มีคุณภาพต่ำและไม่เพียงพอ การจัดการอื่น ๆ ไม่เหมาะสม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากนำแพะดังกล่าวมาเลี้ยงในสภาพที่มีปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวดีขึ้น ก็จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตและน้ำหนักเมื่อถึงระยะเจริญพันธุ์สูงขึ้น
ลักษณะและวิธีการเลี้ยงแพะโดยทั่วไปสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 แบบด้วยกัน คือ
- การเลี้ยงแบบผูกล่าม
การเลี้ยงแบบนี้ใช้เชือกผูกล่ามที่คอแพะแล้วนำไปผูกให้แพะหาหญ้ากินรอบบริเวณที่ผูก โดยปกติเชือกที่ใช้ผูกล่ามแพะมักมีความยาวประมาณ 5-10 เมตร การเลี้ยงแบบนี้ผู้เลี้ยงจะต้องมีน้ำและอาหารแร่ธาตุไว้ให้แพะกินเป็นประจำด้วย ในเวลากลางคืนก็ต้องนำแพะกลับไปเลี้ยงไว้ในคอกหรือเพิงที่มีที่หลบฝน การผูกล่ามแพะควรเลือกพื้นที่ที่มีร่มเงาที่แพะสามารถหลบแดดหรือฝนไว้บ้าง หากจะให้ดีเมื่อฝนตกควรได้นำแพะกลับเข้าเลี้ยงในคอก
- การเลี้ยงแบบปล่อย
การเลี้ยงแบบปล่อยนี้เกษตรกรมักปล่อยแพะให้ออกหากินอาหารใน เวลากลางวันโดยเจ้าของจะคอยดูแลตลอดเวลา หรือเป็นบางเวลาเท่านั้นลักษณะ การเลี้ยงแบบนี้ที่นิยมเลี้ยงกันมากในบ้านเราเพราะเป็นการเลี้ยงที่ประหยัด เกษตรกรไม่ต้องตัดหญ้ามาเลี้ยงแพะ การปล่อยแพะหาอาหารกินอาจปล่อยในแปลงผักหลังการเก็บเกี่ยวหรือปล่อยให้กินหญ้าในสวนยาง แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้แพะเที่ยวทำความเสียหายให้แก่พืชเกษตรกรเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะแพะกินพืชได้หลายชนิด การปล่อยแพะออกหากินอาหารกินไม่ควรปล่อยเวลาที่แดดร้อนจัดหรือฝนตก เพราะแพะอาจจะเจ็บป่วยได้ โดยปกติเกษตรกรมักปล่อยแพะหากินอาหาร ตอนสายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเที่ยง หรือปล่อยแพะออกหากินอาหารกินตอนบ่ายแล้วไล่ต้อนกลับเข้าคอกตอนเย็น หากพื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์แพะจะกินอาหารเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
- การเลี้ยงแบบขังคอก
การเลี้ยงแบบนี้เกษตรกรขังแพะไว้ในคอกรอบๆ คอกอาจมีแปลงหญ้าและรั้วรอบแปลงหญ้าเพื่อให้แพะได้อออกกินหญ้าในแปลง บางครั้งเกษตรกรต้องตัดหญ้าเนเปียร์หรือกินนีให้แพะกินบ้างนคอกต้องมีน้ำและอาหารข้นให้กิน การเลี้ยงวิธีนี้ประหยัดพื้นที่และแรงงานในการดูแลแพะ แต่ต้องลงทุนสูง เกษตรกรจึงไม่นิยมทำการเลี้ยงกัน
- การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช การเลี้ยงแบบนี้ ทำการเลี้ยงได้ 3 ลักษณะ ที่กล่าวข้างต้น แต่การเลี้ยงลักษณะนี้เกษตรกร จะเลี้ยงแพะปะปนไปกับการปลูกพืช เช่น ปลูกยางพารา ปลูกปาล์มน้ำมันและปลุกมะพร้าว ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเกษตรกรจำนวนมากที่ทำการเลี้ยงแพะควบคู่ไปกับการทำสวนยาง โดยให้แพะหากินหญ้าใต้ยางที่มีขนาดโตพอสมควร การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว
ประโยชน์ของแพะพื้นเมือง
แพะ เป็นสัตว์เลี้ยงที่น่าส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น เพราะแพะ เลี้ยงง่ายขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีข้อดีอื่นๆ เช่น
- แพะเป็นผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กสามารถให้การดูแลได้
- แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงแม้ฤดูแล้ง แพะก็สามารถหาวัชพืชที่โค-กระบือกิน กินเป็นอาหาร
- แพะมีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถผสมพันธุ์แพะได้ตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน
- แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกสั้น จึงทำให้ตั้งท้องได้ใหม่
- แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์สำหรับแพะ
- แพะเป็นสัตว์ที่สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ความทนต่อสภาพอากาศแล้ง และร้อนได้ดี
- แพะเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับประชาชนของทุกศาสนา เพราะไม่มีศาสนาใดห้ามบริโภคเนื้อแพะ
ติดตามรีวิวสัตว์เลี้ยง : รีวิวสัตว์เลี้ยง
สามารถติดตามความน่ารักของสัตว์เลี้ยงต่อไปได้ที่ : baanpet