https://baanpet.com/

แกะ

แกะ

แกะ เป็นสัตว์ที่อยู่ในตระกูลกีบเท้าสองนิ้ว ทั้งชนิดมีเขาและไม่มีเขาอยู่ในตระกูลเดียวกับวัวแต่มีขนาดเล็กกว่า เลี้ยงง่าย มีความยาวลำตัวกินหญ้าได้หลายชนิด โค้งจากปลายจมูกถึงหาง ยาว 1.4-1.5 เมตร สูง 65-72 ซม. หนัก 60-70 กก. แกะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มี 4 กระเพาะ ออกลูกได้ครั้งละ 1-3 ตัว เวลา. ในประเทศไทยสามารถเลี้ยงแกะได้ เริ่มต้นปีนี้ ในปี พ.ศ. 2509 มิชชันนารีได้นำแกะดอร์เซ็ท 7 ตัวจากสหรัฐอเมริกามาที่เชียงใหม่เพื่อเลี้ยงดูพวกมัน และต่อมาก็นำเข้าอีก 6 ตัวจากออสเตรเลีย กรมปศุสัตว์ได้นำแกะพันธุ์ดอร์เซ็ทฮอร์นมาทดลองเลี้ยง โดยภาคเอกชน เริ่มนำเข้าแกะสายพันธุ์อื่นมาเลี้ยงมากขึ้นทำให้การเลี้ยงแกะแพร่หลาย แพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย

ใช้เลี้ยงแกะซึ่งโดยพื้นฐานแล้วไม่ใช่สัตว์ที่ผูกพันกับเศรษฐกิจของประเทศไทยมาแต่โบราณ เช่น โค กระบือ แต่ก็มีการนำเข้ามาเลี้ยงด้วย ทำให้หลายๆ คนอาจสงสัยว่าเลี้ยงแกะทั้งที่คนไทยยังกินหมูอยู่จะคุ้มแค่ไหน? ส่วนใหญ่เป็นวัวหรือไก่ ณ จุดนี้ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเนื้อแกะ นมแพะ ขนและหนังแกะมีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหารและสิ่งทอของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์บางชนิด นมแพะแม้ว่าจะไม่นิยมบริโภคเนื่องจากมีปริมาณแคลเซียม แต่ก็สูงเกินไปสำหรับการบริโภคในแต่ละวัน แต่ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำชีสหลากหลายชนิด รวมถึงการทำโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้

นอกจากนี้ใครที่ชอบอาหารฮาลาลหรืออาหารอิสลามจะรู้ดีว่าเนื้อแกะเป็นส่วนประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ในอาหารประเภทนี้ แน่นอน ในประเทศที่มีมุสลิม 7.4 ล้านคน เนื้อแกะเป็นที่ต้องการสูง ไม่ต้องพูดถึงการส่งออกไปยังประเทศอื่นที่มีความต้องการบริโภคเนื้อแกะแต่ภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยง จะนำข้อมูลดีๆในการเลี้ยงแกะมาให้ทุกท่านได้ลองเรียนรู้กันนะครับ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแกะ

ชื่อภาษาไทย: แกะ

ชื่อภาษาอังกฤษ: Sheep

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ovis aries

ตระกูลสัตว์: อันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในวงศ์ใหญ่ Bovidae

แกะ

ลักษณะนิสัยของแกะที่ต่างจากแพะ

แม้ว่าแกะจะเป็นสัตว์ที่มีลักษณะนิสัยและลักษณะทางกายภาพที่คล้ายกับแพะ แต่ก็จะมีนิสัยบางอย่างที่สามารถแบ่งแยกสัตว์ 2 ประเภทนี้ออกจากการ เช่น แกะจะไม่สามารถปีนป่ายขึ้นที่สูงได้เหมือนแพะ มีความขี้ขลาดกว่าและไม่ได้ฉลาดเท่าแพะ ดังนั้น เมื่อเจอศัตรูก็จะวิ่งหนี แต่ข้อดีคือแกะสามารถปรับตัวอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นได้ดีกว่าแพะและด้วยนิสัยขี้กลัวของมันทำให้นำมาเลี้ยงในครัวเรือนได้ง่ายเพราะไม่ค่อยมุดรั้วมุดกรงหนี ส่วนนิสัยการกินของแกะนั้นมันสามารถกินพืชได้หลายชนิดทั้งใบไม้ ใบหญ้า พุ่มไม้ต่าง ๆ และไม่ค่อยเลือกกินเหมือนกับแพะ สามารถเลี้ยงแกะในแปลงผักต่าง ๆ หลังการเก็บเกี่ยวได้ แกะจะมีนิสัยชอบเดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กัน โดยมันสามารถเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6 – 8 กิโลเมตรเลยทีเดียว ดังนั้น ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4- 8 นิ้วเพื่อให้แกะไม่เดินไปไกลมาก

สายพันธุ์ของแกะที่นิยมเลี้ยง

สำหรับการเลี้ยงแกะแล้วแม้ว่าจะมีมานานหลายพันปีและมีมากถึง 200 สายพันธุ์จากทั่วโลกที่มนุษย์ต้องทำการศึกษา แต่แกะที่ถูกนำมาเลี้ยงในเชิงปศุสัตว์ทุกวันนี้ก็ค่อนข้างมีความแตกต่างไปจากแกะป่าตามธรรมชาติทั่วไปมาก เนื่องจากพวกมันได้รับการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์มาตลอด เพื่อให้พวกมันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ ให้สามารถเลี้ยงตามครัวเรือนได้ จึงไม่แปลกที่ในปัจจุบันเราจะพบสายพันธุ์แกะที่นิยมเลี้ยงอยู่เพียงไม่กี่สายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์จะให้ผลผลิตในด้านที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจะมาทำความรู้แกะที่คนนิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน โดยอ้างอิงแกะ 8 สายพันธุ์จากสำนักพัฒนาปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์

1) พันธุ์วิลท์ไชร์ฮอร์น

วิลท์ไชร์ฮอร์น (Dorset Horn) เป็นแกะที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีขนสั้น และเขาโก่งโค้งงอเข้าหาใบหน้าแล้วบิดกลับ เป็นสายพันธุ์ที่คนนิยมเลี้ยงเพื่อขุนเนื้อเพราะแกะพันธุ์นี้เมื่ออายุครบ 1 ปีจะมีน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัมจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นแกะที่ให้เนื้อโดยเฉพาะและข้อดีคือเมื่อเข้าฤดูร้อนแกะพันธุ์นี้จะสามารถผลัดขนทิ้งเองได้ อีกทั้งแกะสายพันธุ์นี้ยังเหมาะเลี้ยงไว้ใช้สำหรับการปรับปรุงสายพันธุ์แกะเนื้อในประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งมีหลายประเทศที่นำเข้าแกะสายพันธุ์นี้จนเป็นที่ต้องการในตลาดโลก รวมทั้งตลาดเนื้อแกะในไทยก็นิยมบริโภคเนื้อแกะสายพันธุ์นี้เป็นส่วนใหญ่ด้วย

2) พันธุ์ดอร์เซ็ท

ดอร์เซ็ท (Dorset Polled) แกะที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อให้มีลักษณะดีสามารถให้เนื้อมีคุณภาพสูงโดยแกะพันธุ์นี้จะมีการจำแนกลักษณะออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีเขาเรียกว่าดอร์เซ็ทฮอร์นซึ่งจะมีเขาตามแบบแรกที่เรายกมาและชนิดไม่มีเขาเรียกว่า ดอร์เซ็ทโพล เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 80 – 110 กิโลกรัม ตัวเมียสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปีและมีน้ำนมดีมาก จึงทำให้ลูกแกะที่เกิดมาเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงมีอัตราการเลี้ยงรอดสูงและยังสามารถทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนได้ดี จึงนำเข้ามาเลี้ยงในไทยได้เกือบทุกพื้นที่เลย

3) พันธุ์คอร์ริเดล

คอร์ริเดล (Corriedale) แกะพันธุ์นี้เมื่อโตเต็มวัยแล้วเพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 85 – 110 กิโลกรัม เพศเมียมีน้ำหนักประมาณ 55 – 85 กิโลกรัม ลักษณะของขนมีสีขาวปนน้ำตาลอ่อน ๆ มาเล็กน้อย ขนที่ใบหน้ามีสีขาว หางเป็นชนิดหางเล็กแต่ยาว เนื้อของลูกแกะพันธุ์คอร์ริเดลมีคุณภาพดี แกะพันธุ์นี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแปลงหญ้าได้ดี ทนทานต่ออากาศร้อนและมีอายุยืนมากจึงใช้เป็นพ่อพันธุ์ – แม่พันธุ์ได้นานกว่าแกะพันธุ์อื่น ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ได้เลี้ยงแกะพันธุ์นี้เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่เกษตรกรและคนทั่วไปที่สนใจจะเลี้ยงแกะ

https://pasusat.com

4. พันธุ์เมอริโน

เมอริโน (Merino) เป็นแกะพันธุ์ใหญ่ที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 75 กิโลกรัมสูงประมาณ 70 เซนติเมตร ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัมสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ขนเป็นสีขาวน้ำตาลเนื้อสัมผัสนุ่มละเอียดยาวประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ปริมาณขนที่ตัดได้ต่อปี ตัวผู้ 4-5 กิโลกรัมต่อตัว ตัวเมีย 3-4 กิโลกรัมต่อตัว ลักษณะหางเป็นแบบหางเล็กแต่ยาว ประเทศไทยได้นำแกะพันธุ์นี้เข้ามาเลี้ยงเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ให้ได้ทั้งเนื้อ นมและขนที่มีคุณภาพ

 

http://bib.ge/sheep

5) พันธุ์ซัฟฟอล์ค

ซัฟฟอล์ค (Suffolks) เป็นแกะเนื้อของประเทศอังกฤษที่เชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีมานานกว่า 200 ปีแล้ว มีชื่อเรียกตามเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ น้ำหนักแกะพันธุ์นี้เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ตัวผู้หนักประมาณ 100 – 125 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 70 -100 กิโลกรัมมีขนาดตัวใหญ่กว่าแกะพันธุ์อื่นแต่มีหัวเล็ก ลักษณะเด่นจะอยู่ที่ใบหน้า หูและขาจะเป็นสีดำ ส่วนลำตัวและคอจะเป็นสีขาวและตั้งแต่หัวเข่าลงไปถึงเท้าไม่มีขน แกะพันธุ์นี้มีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนและแม่พันธุ์แกะมีความสามารถในการเลี้ยงลูกให้มีอัตราการเจริญเติบโตสูง จึงเป็นแกะพันธุ์ที่เหมาะกับการนำมาปรับปรุงสายพันธุ์หรือจัดจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อทำปศุสัตว์ในครัวเรือน

https://pasusat.com

6) พันธุ์คาทาดิน

คาทาดิน (Katahdin) เป็นแกะที่นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2532 เป็นแกะเนื้อที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติและผลัดขนในฤดูร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น ๆ เนื้อแกะมีคุณภาพดีมาก ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิดประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม น้ำหนักเมื่อหย่านมประมาณ 18-20 กิโลกรัม โตเต็มวัยเพศผู้ประมาณ 90 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียน้ำหนักประมาณ 55-60 กิโลกรัม

http://bib.ge/sheep

7) พันธุ์ซานตาอินเนส

ซานตาอินเนส (Santa Ines) เป็นแกะเนื้อที่นำเข้าจากประเทศบราซิลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 มีขนาดตัวใหญ่ใบหูยาวปรกหน้า ใบหน้าโค้งนูน ขนมีหลายสีทั้งดำ ขาว น้ำตาลหรืออาจมีสีทั้งหมดนี้ปะปนกัน น้ำหนักแรกเกิดประมาณ 2.5-3.0 กิโลกรัม น้ำหนักเมื่อหย่านมประมาณ 18-20 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มวัยตัวผู้จะหนัก 80 – 90 กิโลกรัมส่วนตัวเมียหนักประมาณ 60 กิโลกรัมเป็นแกะที่มีขนสั้นจึงนิยมเลี้ยงเพื่อเอาขุนเอาเนื้อ

https://pasusat.com

8) พันธุ์ดอร์เปอร์

ดอร์เปอร์ (Dorper) เป็นแกะที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์อย่างสมบูรณ์ในแอฟริกาใต้ช่วงปี ค.ศ. 1940 โดยการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแกะแบลคเฮด เปอร์เซียน (Blackhead Persian) และพันธุ์ดอร์เซทที่มีเขา (Dorset Horn) สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ทนต่อความแห้งแล้งได้สูง ลักษณะเด่นคือมีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขาโดยในปีพ.ศ. 2539 ทางกรมปศุสัตว์ได้นำแกะพันธุ์นี้เข้ามาเลี้ยงเพื่อมุ่งเน้นที่จะส่งออกเนื้อแกะที่มีคุณภาพสูง

ติดตามรีวิวสัตว์เลี้ยง : รีวิวสัตว์เลี้ยง

สามารถติดตามความน่ารักของสัตว์เลี้ยงต่อไปได้ที่  : baanpet