เต่าบก ต้วมเตี้ยม

เจ้าเต่าบก ต้วมเตี้ยม หลายๆคนคงคุ้นชินกับเอกลักษณ์ของเจ้าเต่าบกเจ้าเต่ากระดองหนา เดินช้าๆ ชอบหดหัวอยู่ในกระดองของมัน ที่ชอบกินผักบุ้งและผักหลายๆชนิด
อันดับแรกเลยคือ เราจะต้องรู้ว่าเต่าบกที่เราเลี้ยงต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศไหน และมีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เพื่อจัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของเราให้ใกล้เคียงกับแหล่งกำเนิด ตัวอย่างเช่น เต่าพันธุ์ซูคาตา หรือเต่าเดือยแอฟริกา มีถิ่นที่อยู่ในทะเลทรายกับทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้ง จึงควรจัดพื้นที่ให้แห้ง และอบอุ่น ที่สำคัญควรทราบว่าเต่าพันธุ์นี้ค่อนข้างจะแข็งแรง ขุดเก่ง โตไว จึงควรใช้กระบะที่ทนทาน หรืออาจจะจัดให้อยู่ในพื้นที่นอกบ้านไปเลย
สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่คิดจะเลี้ยง เต่าบก ควรจะต้องศึกษาก่อนที่จะเลี้ยงว่า เต่าบกที่เราอยากจะเลี้ยงนั้น มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเป็นอย่างไร อาหารที่รับประทานมีอะไรบ้าง เมื่อรู้ถึงธรรมชาติที่มาของน้องแล้ว ก็ต้องมาดูว่าเราเองมีเวลาที่จะดูแลเค้าหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีพื้นที่ที่จะเลี้ยงเขาอย่างเหมาะสมหรือไม่ มีเงินทุนสำหรับค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อไม่สบายหรือเปล่า
บรรพบุรุษของเต่าบก โดยเฉพาะที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกค้นพบเมื่อกลางปี ในยุคจูราสิกตอนปลาย ที่จังหวัดมุกดาหาร ซากฟอสซิลมีขนาดความยาวและกว้างกว่า 90 เซนติเมตร
โดยมากแล้ว เต่าบกจะเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ หลายชนิดเมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีน้ำหนักร่วมร้อยกว่ากิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่บนพื้นที่มีความแห้งและอุณหภูมิค่อนข้างร้อนหรือกึ่งทะเลทราย หรือแม้แต่จะเป็นทะเลทรายเลยในบางชนิด และโดยมากแล้วเต่าบก จะเป็นเต่าที่กินพืชและผักเป็นอาหาร มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่กินเนื้อหรือกินทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร
เต่าบกเป็นสัตว์ที่มีความแตกต่างระหว่างการระบุเพศ ได้อย่างชัดเจนมากๆ เพราะ โดยตัวผู้มักจะมีกระดองส่วนหาง ที่มีความเว้าลึกกว่าตัวเมีย เนื่องจากจะต้องสอดใส่อวัยวะเพศเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเมียในเวลาผสมพันธุ์
ถึงแม้จะมีชีวิตอยู่บนบกและอาศัยในที่ ๆ สภาพอากาศแห้งแล้ง แต่เต่าบกก็ยังต้องการน้ำ ซึ่งวิธีที่จะทำให้ได้รับน้ำ ก็คือ การที่กินเข้าไปทั้งโดยตรง และผ่านจากอาหารที่กินเข้าไป และการที่ลงไปแช่ในน้ำ
แสงแดดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อเต่าบกมาก เนื่องจากต้องการรังสียูวีเอและยูวีบี ซึ่งยูวีเอจะเป็นตัวกระตุ้นในเรื่องของความอยากอาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการสืบพันธุ์อีกด้วย ส่วนยูวีบีจะช่วยในเรื่องของการดูดซึมแคลเซียมและเสริมสร้างวิตามินดี3 ภายในร่างกายของเต่า ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับยูวีบี แล้วจะทำให้กระดองเต่าอ่อนแอ นุ่มนิ่ม ทำให้เต่ามีร่างกายที่อ่อนแอและตายได้ง่าย

มีรายงานว่าเต่าบกที่เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของครอบครัวหนึ่ง ในกรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 30 ปี ภายในห้องเก็บของที่ถูกปิดตายมาตลอด โดยที่ไม่ทราบว่าอยู่รอดมาได้อย่างไร
เต่าบก สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 2 วงศ์ มีการกระจายพันธุ์ทั่วทุกทวีปของโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งหลายชนิดเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ซึ่งเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่และมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ซึ่งจะพบได้เฉพาะในหมู่เกาะกาลาปากอส เท่านั้น, เต่ายักษ์เชเซลล์ (Aldabrachelys hololissa) ที่อาศัยอยู่เฉพาะสาธารณรัฐเชเซลล์, เต่าดาวพม่า (Geochelone platynota) หรือ เต่าราเดียตา (Astrochelys radiata) ซึ่งเป็นเต่าบกขนาดเล็ก กระดองมีความสวยงาม นิยมเลี้ยงกันสัตว์เลี้ยง โดยกระดองของตัวที่มีสีเหลืองมาก จะเรียกว่า “ไฮเยลโล่”
เต่าบก นั้นจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนบก มีกระดอกที่นูนหนาเพื่อป้องกันตัว บริเวณเท้าจะมีเกล็ดหน้าและเล็บยาวเพื่อขุดดิน กินพืซเป็นอาหารแต่บางสายพันธุ์ก็จะกินเนื้อหรือแมลงอีกด้วย
อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงเต่าบก
สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงเต่าบก ควรมีอุปกรณ์พื้นฐานดังต่อไปนี้
- กล่องขนาดใหญ่หรือกระบะขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการเลี้ยงเต่า เลือกที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ นอกจากนี้ควรมีพื้นที่ซ่อนตัวหรือหลบให้แก่เต่า เพื่อไม่ให้เต่าของเราเครียดจนเกินไป
- การเลี้ยงเต่าจะต้องจำเป็นต้องเตรียมชุดหลอดไฟ UVA UVB หรือหลอดที่ให้ความอบอุ่นน้องเต่าของเราตลอด เนื่องจากเต่าต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม รวมถึงได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ หากว่าไม่สามารถนำเต่าไปรับแสงอาทิตย์ได้ก็ควรจะมีหลอดจำลองแสงอาทิตย์สำรองไว้
- การมีที่วัดอุณหภูมิและที่วัดความชื้น เพื่อตรวจสอบสภาวะที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิต
- การเตรียมถาดน้ำ ถาดอาหาร อาหารเต่าสำเร็จรูป หรืออาจเสริมผักชนิดต่างๆตามความเหมาะสม
สิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องทราบก่อนเลี้ยงเต่าบกคือ เราควรเลี้ยงในกระบะมากกว่าในตู้กระจก เพราะเต่าอาจจะไม่ชินกับสภาพแวดล้อม และบาดเจ็บได้
ติดตามรีวิวสัตว์เลี้ยง : รีวิวสัตว์เลี้ยง
สามารถติดตามความน่ารักของสัตว์เลี้ยงต่อไปได้ที่ FB : baanpet