เว็บสล็อต
https://baanpet.com/

ปลานิล (Nile Tilapia)

ปลานิล-(Nile-Tilapia)

ปลานิล (Nile Tilapia) เป็นปลาน้ำจืดจากทวีปแอฟริกาอาศัยได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ลักษณะของปลานิลที่สามารถสังเกตได้ คือ จะมีที่มีริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาลและมีลายพาดขวาง 9 – 10 แถบ ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีจุดขาวและเส้นสีดำตัดขวาง ครีบหลังมีอันเดียวประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 15 – 18 อัน และก้านครีบอ่อน 12 – 14 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบ อ่อน 12 – 14 อัน บนแถบเส้นข้างลำตัวมีเกล็ด 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้มที่กระดูกแก้ม มีจุดสีเข้มอยู่ 1 จุด นอกจากนี้ปลานิลหากินเองได้ตามธรรมชาติจากไรน้ำ แพลงก์ตอนพืชและสัตว์ ถือเป็นปลาน้ำจืดที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ง่าย

การเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยเป็นอาชีพที่ทำกันมายาวนานกว่า 50 ปีมาแล้ว ซึ่งถิ่นเดิมเป็นปลาจากทวีปแอฟริกาถูกนำเข้ามาโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตราชกุมารของประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2508 เพื่อนำมาถวายแด่รัชกาลที่ 9 จำนวน 50 ตัว โดยรับสั่งให้เลี้ยงไว้ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต ก่อนจะพระราชทานชื่อให้ว่า “ปลานิล” จากนั้นในปีถัดมาก็ได้พระราชทานปลานิลให้แก่กรมประมงเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยสายพันธุ์ปลานิลที่สามารถเลี้ยงได้ในประเทศไทยได้ดีและแจกจ่ายให้กับเกษตรกรได้ประกอบอาชีพประมงน้ำจืดมาจนถึงทุกวันนี้

ทำให้ในปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลไม่ได้เป็นแค่การเลี้ยงปลาเพื่อสร้างรายได้ภายในครอบครัวหรือในประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นการเลี้ยงเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ จนเรียกได้ว่าปลานิลได้กลายเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากปลานิลยังกลายเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในหลายประเทศ โดยจะเห็นว่าในปี 2563 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการส่งออกปลานิลไปยังประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ไนจีเรีย สหรัฐอเมริกา กัมพูชา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และออสเตรเลีย โดยผลิตภัณฑ์ที่ถูกส่งออกไปมากที่สุดก็คือ ปลานิลแช่แข็ง ปลานิลแบบฟิลเลรมควันและปลานิลอบแห้ง จนทำให้ประเทศไทยได้ขึ้นแท่นการส่งออกปลานิลเป็นอันดับที่ 16 ของโลกและคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 277.9 ล้านบาทเลยทีเดียว ดังนั้น ใครที่กำลังมองภาพการทำประมงน้ำจืดเพื่อส่งออก การเลี้ยงปลานิลยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอยู่และ ก็จะมาทำหน้าที่มอบข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับปลานิลให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

https://planil.com

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปลานิล

ชื่อภาษาไทย: ปลานิล

ชื่อภาษาอังกฤษ: Nile Tilapia

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Oreochromis niloticus

ตระกูลสัตว์: ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)

ปลานิล-(Nile-Tilapia)

สายพันธุ์ปลานิลที่นิยมเลี้ยงในไทย

สายพันธุ์ปลานิลที่มีในประเทศตอนนี้เดิมทีเป็นสายพันธุ์ที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ จากนั้นกรมประมงจึงได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้ได้ปลานิลที่สามารถทนทานกับสภาพแวดล้อมในประเทศได้เป็นอย่างดี จากคู่มือการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดได้อธิบายลักษณะสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้ดังนี้

1.สายพันธุ์จิตรลดา เป็นปลานิลสายพันธุ์ดั้งเดิมในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับปลานิลที่ลุ่มแม่น้ำไลน์ (Oreochromis niloticus)

2.ปลานิลสายพันธุ์ จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการคัดเลือกสายพันธุ์แบบภายใน ครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ซึ่งทดสอบพันธุ์ แล้วพบว่าอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 22 % ลักษณะสำคัญคือมีการเจริญเติบโตดีได้ดี เลี้ยงง่าย ทนทานและวางไข่ง่าย

3.ปลานิลสายพันธุ์ จิตรลดา 2 ได้จากการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมปลานิลสายพันธุ์อียิปต์ให้พ่อพันธุ์มีโครโมโซมเพศเป็น “YY” เรียกว่า “YY-male” หรือ Supermale เมื่อนำไปผสมกับแม่พันธุ์ปกติจะได้ลูกพันธุ์ปลานิลเป็นเพศผู้ทั้งหมด มีลักษณะส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีขาวนวลเนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6-8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตสูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยงกันทั่วไปถึง 45%

4.ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 เป็นพันธุ์ปลานิลที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สำเร็จในปี 2550 โดยปรับปรุงจากปลานิลสายพันธุ์ GIFT (Genetic Improvement of Farmed Tilapia) รุ่นที่ 5 ของหน่วยงาน International Center for Living Aquatic Resource Management (ICLARM) ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสายพันธุ์จิตรลดาดั้งเดิมผสมอยู่ด้วย “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3” ได้ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบหมู่ (Mass Selection) เพื่อให้มีการเจริญเติบโตดีและมีอัตราการรอดสูง อีกทั้งยังให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ คือ หัวเล็ก ตัวหนาและเนื้อแน่นมาก

5.ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 4 เป็นพันธุ์ปลานิลที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สำเร็จในปี 2552 โดยปรับปรุงจากปลานิลสายพันธุ์ GIFT รุ่นที่ 9 จาก WorldFish Center ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีสายพันธุ์จิตรลดาดั้งเดิมผสมอยู่เช่นเดียวกัน “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 4” ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการประเมินจากค่าการผสมพันธุ์ (Estimated Breeding Value, EBV) ของมวลน้ำหนักเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีเหมาะแก่การนำไปเพาะพันธุ์ต่อ โดยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ คือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา

การเลี้ยงปลานิลในบ่อปูน

สำหรับการเลี้ยงปลานิลในบ่อปูนนั้นจะต้องสร้างบ่อปูนที่ความสูง 1 เมตร ซึ่งลักษณะของบ่อสามารถสร้างได้ในรูปแบบของบ่อวงกลมหรือบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามความต้องการของเกษตรกร แล้วต่อท่อ PVC ที่ความสูง 50 – 80 เซนติเมตร เพื่อเป็นทางที่จะใช้ระบายน้ำเข้าบ่อและควรเจาะรูก้นบ่อใช้สำหรับการระบายน้ำออกและควบคุมระดับน้ำในบ่อ จากนั้นจึงนำปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ เพื่อให้ปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำ จากนั้นใส่ดินและปุ๋ยคอกตามลำดับ และปล่อยน้ำเข้าบ่อแล้วจึงทิ้งบ่อไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้บ่อได้ปรับสภาพน้ำและนำพืชน้ำชนิดต่าง ๆ มาใส่ในบ่อเพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย เมื่อบ่อที่เตรียมไว้สามารถใช้ได้แล้วสามารถนำปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาคัดลงบ่อเพื่อเพาะพันธุ์ต่อไป

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

เตรียมบ่อที่มีเนื้อที่ประมาณ 50-1,600 ตารางเมตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่ความสูง 1 เมตรหรือมากกว่านั้นเพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำและมีชานบ่อเพื่อเป็นที่พักบ่อสำหรับเป็นที่ให้แสงส่องถึงเกิดสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของปลาและเป็นแหล่งสร้างอาหารใต้น้ำ อีกทั้งควรมีเชิงลาดเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน สำหรับบ่อเก่าจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้หมดและปรับปรุงหน้าดินใหม่ โดยการใส่โล่ติ๊นหรือหางไหลแดงเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการกำจัดศัตรูของปลาในอัตราส่วนโล่ติ๊นแห้ง 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร (อาจใช้โล่ติ๊นสดโดยการนำมาบด สับและคั้นเอาน้ำมาใช้ได้) จากนั้นโรยปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำในบ่อ ตามด้วยปุ๋ยคอก 300 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเตรียมบ่อเรียบร้อยจึงสูบน้ำเข้าและทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ปรับสภาพน้ำในบ่อนำปลามาลง สำหรับการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินจะสามารถให้ผลผลิตที่ดีกว่าบ่อรูปแบบอื่นเพราะเป็นบ่อที่มีความใกล้เคียงกับที่อยู่ของปลาตามธรรมชาติมากที่สุด

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลรูปแบบนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมและเห็นกันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการทำประมงน้ำจืดที่คนอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอยู่แล้ว การเลี้ยงปลานิลในรูปแบบนี้จะสะดวกกว่า เริ่มจากการเตรียมกระชังขนาด 3×6.5×3 เมตร สามารถใช้รูปแบบทุ่นลอยน้ำหรือยึดกระชังให้อยู่กับที่ได้ ซึ่งก่อนนำมาใช้งานจะต้องตรวจสอบสภาพกระชังก่อนลงน้ำทุกครั้งเพื่อให้กระชังมีความสมดุลกับน้ำและปลอดภัยกับผู้เลี้ยงระหว่างการให้อาหารหรือสำรวจกระชัง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้วจะแก้ไขไม่ได้ การวางกระชังจะต้องไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ หลีกเหลี่ยงจุดอับที่อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและติดตั้งเครื่องตีน้ำเพื่อให้มีการไหลเวียนของน้ำเพิ่มออกซิเจนให้ปลา ที่สำคัญจะต้องทำความสะอาดกระชังเป็นประจำ เพราะอาจเกิดการอุดตันของตะไคร่น้ำ เศษอาหารได้ โดยนำกระชังไปแช่โซดาไฟเป็นเวลา 2 ชั่วโมง และผึ่งแดดให้แห้งเพื่อฆ่าเชื้อโรค

จากนั้นให้ปล่อยลูกปลาขนาด 50 กรัม ประมาณ 2,000 ตัว ลงในกระชังที่เตรียมไว้ ซึ่งลูกปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีความทนต่อโรคสูงกว่าลูกปลาขนาดเล็ก ข้อแนะนำคือควรปล่อยลูกปลาในกระชังที่อยู่บริเวณรอบนอก เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความลึกมากกว่าและมีการไหลผ่านของน้ำดีกว่า คุณภาพน้ำที่ดีช่วยให้ลูกปลามีความแข็งแรงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยกว่า นอกจากนี้การปล่อยลูกปลาจะต้องมีการคัดขนาดตัวให้มีขนาดใกล้เคียงกันทุกครั้ง เพื่อให้สะดวกต่อการให้อาหารและได้ผลผลิตสูงด้วย

สามารถติดตามความน่ารักของสัตว์เลี้ยงต่อไปได้ที่ : baanpet

ติดต่อสอบถาม และ เข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ LINE : @UFA656

โปรดยืนยันว่าคุณบรรลุข้อกำหนดด้านอายุตามกฎหมาย (18 ปีขึ้นไป) เพื่อดำเนินการต่อ