ปลาคราฟ-ปลาคาร์ฟ

ปลาคราฟ ปลาคาร์ฟ หรือปลาคาร์ป ปลาสวยงามยอดนิยมที่ไม่ได้แค่ช่วยเพิ่มความสวยงามมีชีวิตชีวาให้แก่บ้านแต่ตามความเชื่อยังเป็นเครื่องหมายของสิ่งมงคลด้านโชคลาภอีกด้วย คนนิยมเลี้ยงปลาคราฟไว้เป็นสัตว์เลี้ยงอีกทั้งบริเวณที่เลี้ยงปลาคราฟก็ยังเป็นมุมโปรดในการพักผ่อนหย่อนใจของใครหลาย ๆ คน ดังนั้นการวางแผนก่อนที่จะเริ่มต้นเลี้ยงปลาคราฟจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่าสำหรับมือใหม่ที่จะเริ่มต้นเลี้ยงปลาคราฟควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
พันธุ์ปลาคราฟยอดนิยม
ปลาคราฟมีหลากหลายสายพันธุ์ที่คนนิยมนำมาเลี้ยง เช่น
– ปลาคราฟพันธุ์โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาคราฟที่มีสีขาวและสีแดง และคนนิยมเลี้ยงมากที่สุด
– ปลาคราฟไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku / Taisho Sanke) เป็นปลาคราพที่มีสีขาว สีแดง และสีดำสนิท (ดำถ่าน) โดยสีดำจะไม่อยู่บริเวณหัวและสีแดงจะไม่อยู่บนครีบหาง
– ปลาคราฟพันธุ์โชวา ซันโชกุ /ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sanke) ลำตัวมีสีขาว สีแดงและสีดำเชื่อมเป็นตัววาย
– ปลาคราฟพันธุ์อุจึริโมโนะ (Utsurimono) ลำตัวเป็นสีพื้นและมีสีดำพาดผ่าน
– ปลาคราฟพันธุ์เบคโกะ (Bekko) ลำตัวสีพื้นและมีจุดดำแต้ม
– ปลาคราฟพันธุ์อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) ปลาคราฟที่มีเกล็ดสีออกฟ้า
– ปลาคราฟพันธุ์โกโระโมะ (Koromo) เป็นปลาคราฟที่มีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายอยู่รวมกับสีพื้นอื่น
– ปลาคราฟพันธุ์โอกอน (Ogon) เป็นปลาคราฟไม่มีลวดลายและสะท้อนแสงเลื่อม
– ปลาคราฟพันธุ์ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) มีสีมากกว่า 1 สี และเป็นสีที่แวววาว
นอกจากนี้ยังมีปลาคราฟพันธุ์ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) ปลาคราฟพันธุ์คินกินริน (Kinginrin) ปลาคราฟพันธุ์ตันโจ (Tancho) เป็นต้น
อาหารสำหรับปลาคราฟ
การให้อาหารปลาคราฟจะให้วันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น ในปริมาณที่พอเหมาะ โดยอาหารที่เหมาะสมสำหรับปลาคราฟ อาจเป็นอาหารสำเร็จรูป เนื้อสัตว์ หรือพืช ก็ได้ดังนี้
- อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาคราฟ อาหารสำเร็จรูปที่ผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเร่งสีสันปลาคราฟให้สวยงาม
- เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลาป่น กุ้งบด เนื้อหอย ปู หมึก แมลง ลูกน้ำ หนอนแดง
- พืชผักต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ถั่วเหลือง ขนมปัง

5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการทำบ่อปลาคราฟ
- เตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงปลาคราฟโดยขนาดบ่อที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาคราฟควรเริ่มต้นที่ขนาดกว้างxยาวxลึก อยู่ที่ 80x120x50 เซนติเมตร เป็นต้นไป นอกจากนี้บ่อปราคราฟควรมีสะดือที่ก้นบ่อเพื่อติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำและเก็บสิ่งสกปรก โดยขนาดสะดือของบ่อปลาคราฟจะอยู่ที่ประมาณ 1×2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว
- วางระบบกรองน้ำเริ่มจากการสร้างบ่อกรองน้ำโดยบ่อกรองน้ำควรมีขนาด 1 ใน 3 ของบ่อปลาคราฟ มีความลึกกว่าตัวบ่อปลาคราฟเพื่อให้น้ำไหลไปบ่อกรองได้ง่าย
- วางระบบกรองน้ำในส่วนของท่อน้ำและเครื่องปั๊มน้ำ โดยมีท่อน้ำจากสะดือบ่อไปยังบ่อกรองน้ำ ปั๊มน้ำ ท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำกลับไปยังบ่อปลาคราฟ ติดตั้งหัวพ่นอากาศ วาล์ว และน้ำพุหรือน้ำตกเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ปลาคราฟ และแรงดันน้ำจะช่วยให้สิ่งปฏิกูลในบ่อปลาคราฟไหลไปรวมกันบริเวณสะดือบ่อปลาคราฟ
- วางระบบท่อน้ำล้นตามระดับความสูงของน้ำในบ่อปลาคราฟที่ต้องการเพื่อควบคุมระดับน้ำในบ่อปลาคราฟ โดยน้ำที่ล้นออกมาจะไหลเวียนไปยังท่อระบายน้ำตามระบบกรองน้ำที่วางไว้
- เมื่อสร้างบ่อปลาคราฟและติดตั้งระบบกรองน้ำเสร็จให้ใส่น้ำในบ่อปลาคราฟและแช่ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วปล่อยน้ำออก จากนั้นเปิดน้ำกักไว้ในบ่อปลาคราฟอีกประมาณ 3 วันแล้วค่อยเปิดระบบกรองน้ำ
5 เคล็ดลับในการดูแลและทำความสะอาดบ่อปลาคราฟ
- ใส่ออกซิเจนในบ่อปลาคราฟให้พอเหมาะกับจำนวนปลาคราฟ และไม่เลี้ยงปลาคราฟในบ่อจำนวนมากเกินไป อัตราส่วนของจำนวนปลาคราฟควรเหมาะสมกับความกว้างของบ่อปลาคราฟ
- ในการล้างบ่อปลาคราฟควรเน้นการล้างทำความสะอาดบ่อกรองแทนการล้างบ่อปลาคราฟโดยตรงเพราะอาจทำให้ปลาคราฟช็อกน้ำที่เปลี่ยนใหม่ได้ โดยวิธีการคือบล็อกน้ำระหว่างบ่อเลี้ยงปลาคราฟกับบ่อกรอง ดูดน้ำในบ่อกรองทิ้งแล้วน้ำน้ำในบ่อเลี้ยงมาทำความสะอาดบ่อกรองแทนการใช้น้ำประปาโดยตรงเพื่อป้องกันคลอรีน
- ในขั้นตอนของการดูดน้ำออกจากบ่อและกำจัดสิ่งปฏิกูลอาจเหลือตะไคร่น้ำไว้เพราะเป็นแหล่งอาหารของปลาคราฟและสามารถช่วยดูดสิ่งสกปรกหรือแอมโมเนียในน้ำ
- ใส่จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำทุกครั้งหลังเปลี่ยนน้ำในบ่อปลาคราฟและบ่อกรอง
- ดูดล้างตะกอนออกจากบ่อกรองบ่อยๆ และให้อาหารพอเหมาะกับจำนวนปลาคราฟ ไม่ให้อาหารปลาคราฟมากเกินไปจนเหลือเพราะจะทำให้น้ำในบ่อปลาคราฟเสียได้
อาหารสำหรับปลาคราฟ
การให้อาหารปลาคราฟจะให้วันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น ในปริมาณที่พอเหมาะ โดยอาหารที่เหมาะสมสำหรับปลาคราฟ อาจเป็นอาหารสำเร็จรูป เนื้อสัตว์ หรือพืช ก็ได้ดังนี้
- อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาคราฟ อาหารสำเร็จรูปที่ผสมสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเร่งสีสันปลาคราฟให้สวยงาม
- เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลาป่น กุ้งบด เนื้อหอย ปู หมึก แมลง ลูกน้ำ หนอนแดง
- พืชผักต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ถั่วเหลือง ขนมปัง
ปลาคราฟกับฮวงจุ้ย
ตามความเชื่อการเลี้ยงปลาคราฟไว้ในบ้านจะช่วยเสริมฮวงจุ้ยทางด้านการเงินและการงาน นอกจากนี้ปลาคราฟยังเป็นสัญลักษณ์ของคนที่มีความพยายามจนประสบความสำเร็จตามความเชื่อของชาวจีนโบราณว่าปลาคราฟจะว่ายทวนน้ำไปยังต้นน้ำและกลายเป็นมังกร โดยการเสริมฮวงจุ้ยด้วยการเลี้ยงปลาคราฟสามารถทำได้ดังนี้
- วางบ่อปลาคราฟให้หันหน้าเข้าหาตัวบ้าน และบ่อปลาคราฟควรอยู่ซ้ายมือเสมอ
- จำนวนปลาคราฟในบ่อควรเป็นเลข 8 เช่น 8, 18, 28, 38, 58 เป็นต้น
สามารถติดตามความน่ารักของสัตว์เลี้ยงต่อไปได้ที่ : baanpet