ฝึกกระรอก เจ้าตัวเล็กให้เชื่อง

ลักษณะกระรอก
กระรอก (Squirrel) เป็นสัตว์ฟันแทะ เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็กและมีความปราดเปรียวว่องไวสูง มีขนสีน้ำตาลเข้มปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย ยกเว้นใต้ท้องจะมีขนสีขาวครีม นัยน์ตากลมดำ และมีหางเป็นพวงฟู มีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว แต่มีนิ้วเท้าหน้าเพียงข้างละ 4 นิ้ว ไว้สำหรับจับอาหารมากัดแทะ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8 ปี แต่บางตัวก็อาจอยู่ได้ถึง 15-20 ปี
กระรอก เป็นสัตว์น้อยน่ารัก อีกหนึ่งชนิดที่หลายคนนิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะตัวเล็ก น่ารัก และน่าจะเลี้ยงง่าย แต่ทั้งนี้ในการเลี้ยงกระรอกนั้นก็มีรายละเอียดที่จะต้องดูแลใส่ใจ ดังนั้นมาดูข้อมูลวิธีเลี้ยงกระรอกก่อนตัดสินใจนำมาเลี้ยงกัน
ประเภทของกระรอก
- กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกประเภทที่พบเห็นได้มากที่สุด มักจะชอบปีนป่ายอยู่บนต้นไม้และกิ่งไม้
- กระรอกดิน กระรอกประเภทนี้มักจะอาศัยอยู่ในป่า ขุดดินเพื่อใช้ในการจำศีลช่วงฤดูหนาว
- กระรอกบิน จะมีพังผืดระหว่างขาแต่ละข้างที่สามารถกางออกเพื่อร่อนข้ามไปยังต้นไม้แต่ละต้นได้
กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนมากจะพบเจอบ่อยที่สุด ตามสวนต่างๆ ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก แต่ละตัวก็จะมีหางลักษณะคล้ายๆกันไป และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละห้านิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละสี่นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ กระรอกต้นไม้มักมีนิสัยชอบสะสมอาหาร ชอบหาแทะผลไม้กินตามต้น และออกหากินในรัศมีห่างจากรังไม่ไกลนัก เป็นสัตว์ที่จดจำถิ่นที่พักเดิมและมีนิสัยดุเมื่อฤดูผสมพันธ์กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วยด้วยความน่ารักของกระรอกทำให้กระรอกหลายชนิดนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพื่อความเพลิดเพลินกระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ทั้งหมดนั้นมี 3 กลุ่ม คือกระรอกที่มีขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ 1.พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และรองลงมา คือ2. พญากระรอกเหลือง ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ห้ามจับนำมาเลี้ยง 2.ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี กระจ้อน และ 3.ขนาดเล็ก เช่น กระเล้น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย กระรอกนั้นมีหลากหลายชนิดและประเภท บางคนก้ไม่ได้ทราบข้อมูลนี้มากนัก
อาหารกระรอก
ตามธรรมชาติแล้วอาหารหลักของกระรอกคือผลไม้และเมล็ดพืช ไม่ว่าจะเป็นลูกสน เมล็ดพันธุ์ เห็ด ผลเบอร์รี่ โอ๊ก วอลนัท พีแคน และดอกไม้ต่าง ๆ แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ กระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอกก็อาจกินไข่นกเป็นอาหารในบางครั้งอีกด้วย
กระรอกส่วนใหญ่จะหาอาหารที่ซ่อนไว้เจอเกือบ 90% แต่อีก 10% พวกมันจะหาไม่เจอ เมล็ดพืชที่กระรอกลืมไว้ เลยมีโอกาสเติบใหญ่ขึ้นเป็นต้นไม้ และกระรอกได้ใช้ประโยชน์ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็ได้เข้ามาใช้ประโยชน์เพราะกระรอกไปด้วย ทั่วโลกมีกระรอกอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เนื่องจากแต่ละชนิดมีความคล้ายคลึงกันมาก พฤติกรรมขี้ลืมนี้ พบในกระรอกเขตหนาว เพราะอาหารไม่อุดมสมบูรณ์จึงต้องพยายามสะสมอาหารไว้ ส่วนกระรอกในเขตร้อน เรียกได้ว่า… กินทิ้งกินขว้างเลยทีเดียว สำหรับกลุ่มกระรอกที่พบในประเทศไทย จำแนกชนิดของกระรอกทั้งหมดได้ สามสิบชนิด และบางชนิดถูกขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์
ติดตามรีวิวสัตว์เลี้ยง : รีวิวสัตว์เลี้ยง
สามารถติดตามความน่ารักของสัตว์เลี้ยงต่อไปได้ที่ FB : baanpet